Tuesday, October 11, 2005

สมรภูมิแจ๊สกลางกรุง

กำลังตามข่าวงาน Bangkok Jazz Festival ที่จะจัดปลายปีนี้อยู่ ว่าจะมีใครมาเล่นบ้าง ก็พอดีว่าไปเจอข่าวใหญ่ยักษ์ข่าวนี้มาพอดี ทำให้ผมเพิ่งทราบว่า ปีนี้จะไม่ได้มีงานแจ๊สดีๆ ใหญ่ๆ เพียงแค่งานเดียว

แต่...ทำไมทั้งสองงานต้องมาจัดพร้อมกัน??

ลองติดตามอ่านข่าว สมรภูมิแจ๊สกลางกรุง ได้ทางด้านล่าง ผมคัดลอกมาจากกรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์จุดประกาย ฉบับวันนี้ครับ
การเกิดขึ้นของเทศกาลดนตรีแจ๊สถึง 2 งานภายในวันและเวลาเดียวกัน ช่วงสิ้นปีนี้ กำลังเป็นประเด็นพูดคุยในระดับ 'ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์' และอาจขยายตัวเป็นระดับ 'ทอล์ค ออฟ เดอะ เวิลด์'

เพราะไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นธุรกิจบันเทิงจำต้องขับเคลื่อนเหตุการณ์ให้ประสานงากัน ด้วยสุดวิสัยจะเลี่ยงได้ ... อนันต์ ลือประดิษฐ์ รายงาน

ในแวดวงดนตรี การประกวดประชันแข่งขันความเป็นเลิศของวงดนตรีนั้นเกิดขึ้นมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นการประกวดวงดนตรีไทยเดิมที่วัดพระพิเรนทร์ ซึ่งมีการดวลเพลงกันอย่างดุเดือด จากวันหนึ่งข้ามไปอีกวันหนึ่ง หรือในสหรัฐอเมริกา ยุคสมัยของสวิงแจ๊ส (Swing Era 1930-1945) มีการประชันวงบิ๊กแบนด์ ที่เรียกกันว่า Band Battle ซึ่งสร้างความเร้าใจให้แก่คนหนุ่มสาวยุคนั้นไม่น้อย

แม้จะเรียกว่าเป็น 'สมรภูมิทางดนตรี' แต่การประกวดประชันแข่งขันวงดนตรีย่อมมีเป้าหมายที่ดีและงดงามในตัวเอง ในแง่เพื่อบรรลุถึงศักยภาพอันเป็นเลิศของนักดนตรี และเพื่อความสุดยอดในการเสพสุนทรียรสของผู้ฟังไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางดนตรีที่ควรชื่นชมอีกด้วย

ทว่า นอกเหนือจาก 'สมรภูมิทางดนตรี' ที่ว่าแล้ว เหตุการณ์แปลกประหลาดที่สุด ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครช่วงปลายปีนี้ อาจนับเป็นครั้งแรกของโลกที่ควรบันทึกไว้ใน 'กินเนสส์ บุ๊ค' ก็ว่าได้ เมื่อเกิด เทศกาลดนตรีแจ๊ส (Jazz Festival) ขึ้น 2 เทศกาลในเวลาเดียวกัน

ผู้สันทัดกรณีหลายรายเชื่อว่า นั่นจะกลายเป็นมูลเหตุของการประชันแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยงพล้ำ นั่นย่อมหมายถึงความปราชัยทางธุรกิจ และมีผลกระทบต่อแผนงานในระยะยาวอย่างแน่นอน

เหตุการณ์ 'ช้าง' ชน 'ช้าง'
ความจริงที่ผู้คนวงในรับรู้กันเต็มอกเวลานี้ คือการชิงชัยของ 2 เทศกาลดนตรีแจ๊ส ระยะเวลา 3 วัน ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันศุกร์ - อาทิตย์ที่ 16-18 ธันวาคม ศกนี้ ซึ่งผลลัพธ์ในท้ายที่สุดยังเป็นเรื่องสุดจะคาดคะเนได้ แต่ที่แน่ๆ งานนี้น่าจะมีโอกาสเจ็บตัวทั้ง 2 ฝ่าย

งานหนึ่งคือผู้จัดเดิม เทศกาลดนตรีแจ๊สกรุงเทพ หรือ Bangkok Jazz Festival 2005 จัดโดย เทอร์มินัล เอ๊กซ์ตร้า ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 และอีกงานคือผู้จัดใหม่ ในนาม Bangkok Jazz Celebration 2005 (ขออนุญาตแปลชื่องานเป็นไทยว่า งานฉลองแจ๊สกรุงเทพ) จัดโดย สกาย เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งแม้จะเพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ทีมงานหลักเคยผ่านประสบการณ์ทำงานในเทศกาลแรกมาแล้ว

ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจ หากเทศกาลดนตรีแจ๊สทั้ง 2 แห่งนี้ จะมีรูปแบบการนำเสนอที่ 'คล้ายคลึงกัน' อยู่มาก ตั้งแต่ระยะเวลาการจัดงาน 3 วัน (ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์) แต่ละวันจะมีโปรแกรมการแสดง 4 รายการ โดยใช้วิธีสลับการบรรเลงระหว่าง 2 เวทีใหญ่ และด้วยการเลือกสรรศิลปินแจ๊สระดับแนวหน้า หรือ 'เฮดไลเนอร์' ที่อยู่ในกลุ่ม ป๊อป-แจ๊ส ฟิวชั่น เป็นหลัก

นอกเหนือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะอุดหนุนงบประมาณให้แก่โปรโมเตอร์ทั้ง 2 รายแล้ว ความพ้องกันโดยบังเอิญยังอยู่ตรงการมีผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ คือ 'เครื่องดื่มเบียร์' ในสายตาของนักสังเกตการณ์ด้านการตลาด งานนี้จึงถือเป็นสมรภูมิที่น่าจับตา เพราะเป็นเสมือนการชนกันระหว่างเบียร์ 2 ยี่ห้อหลักดีๆ นี่เอง นั่นคือ สีเขียว และ สีทอง

ปริศนาเรื่องวันแสดง
ประเด็นที่ทุกๆ คนในวงการต่างตั้งคำถามเดียวกันโดยมิได้นัดหมายคือ เหตุใดจึงต้องมาเลือกจัดงานในวันเดียวกัน? เพราะถึงที่สุดแล้ว ย่อมไม่ได้สร้างผลดีให้แก่ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากฐานของคนฟังดนตรีแจ๊สแม้จะเริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แต่ก็มีปริมาณที่แน่ชัดจำนวนหนึ่ง

จากสถิติของผู้เข้าชมเทศกาลดนตรีแจ๊สในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้ชมจำนวนใกล้เรือนหมื่นต่อวัน แต่เมื่อตัดแขกรับเชิญของผู้จัดงานและแขกของสปอนเซอร์ออกไป ยอดขายบัตรจริงๆ อาจจะอยู่ที่ราว 5-6 พันคน ดังนั้น เมื่อมีการจัดงานขึ้นเป็น 2 งาน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้เปรียบต่อกันทั้งในด้านรายชื่อศิลปินและทำเลของสถานที่จัดงาน นั่นเท่ากับว่าจำนวนผู้เข้าชมต้องลดลงไปถึงครึ่งหนึ่งโดยธรรมชาติ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วนิดา วรรณศิริกุล ผู้บริหารของ เทอร์มินัล เอ๊กซ์ตร้า ซึ่งเป็นโปรโมเตอร์เดิมของงานเทศกาลดนตรีแจ๊ส ยืนยันว่า ได้เริ่มเตรียมงานตามวงจรปกติ ตั้งแต่ติดต่อขอใช้สถานที่ ณ ลานสนามเสือป่า ในเดือนเมษายน และต่อมาเดือนมิถุนายน ได้เซ็นต์สัญญากับศิลปินแจ๊สทุกรายและจ่ายเงินตามข้อตกลงไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวันแสดงที่กำหนดไว้ได้
"ในฐานะโปรโมเตอร์ เทศกาลแจ๊ส คงไม่ได้ทำงานโดยคนเพียงไม่กี่คน ที่ผ่านมา อาจจะมีบางคนที่ขอแยกตัวออกไป แต่จากประสบการณ์ที่เราอยู่ในธุรกิจนี้มากว่า 20 ปี ขอต้องยืนยันว่า เราทำงานของเราต่อไปได้ตามปกติ ดังนั้น ในเรื่องของวันที่กำหนดออกมาตรงกัน เราไม่ได้รับรู้อะไรมากไปกว่าเราทำงานของเรา และไม่ได้รับการบอกกล่าวอะไรจากผู้ประกอบการรายอื่น"

วนิดา เสริมว่าในฐานะผู้จัดงานเก่า อย่างน้อยเธอมีความได้เปรียบในเรื่องการขายตั๋วให้กรุ๊ปทัวร์ต่างชาติเริ่มหันมาให้ความสนใจ โดยตอนนี้มีทัวร์จากญี่ปุ่นจองมา 200 ใบแล้ว และในอนาคต คาดว่าจะได้ทัวร์จากเกาหลี, ศรีลังกา, ฟิลิปปินส์ และประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะที่ ประเสริฐ ธีระมโน ผู้บริหารของ สกาย เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งเดิมเป็นอดีตผู้ดูแลงานด้านโปรดักชั่นของ Bangkok Jazz Festival และปัจจุบันได้เปลี่ยนมากุมบังเหียนทิศทางของงาน Bangkok Jazz Celebration อธิบายถึงที่มาของการกำหนดวันแสดงที่บังเอิญมาตรงกันว่า เป็นเพราะช่วงเวลาดังกล่าวเหมาะสมที่สุด ตลอดเดือนธันวาคม มีช่วงวันหยุดยาว ทั้งต้นและปลายเดือน ดังนั้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ กลางเดือน นั่นเอง
"ผมตัดสินใจออกจากงานทางฝั่งโปรโมเตอร์เก่าด้วยดี เพราะเรามีทัศนคติและแนวทางในการทำงานแตกต่างกัน โดยพื้นฐานผมต้องการปรุงรสชาติแจ๊สอย่างที่เป็นแจ๊สจริงๆ ไม่ใช่แจ๊สอย่างที่สปอนเซอร์ต้องการ สมมติ ผมเป็นพ่อครัวมีเงินมาให้ 100 บาท แต่ต้องแบ่ง 90 บาทไปปรุงรสชาติอาหารเพื่อเอาใจสปอนเซอร์ และอีก 10 บาทไปให้คนกลุ่มหลัก ผมคงไม่แฮปปี้ที่จะทำแบบนั้น ดังนั้น หลังจากงานเมื่อปีกลายจบลงได้เพียง 1 สัปดาห์ ผมก็ได้เริ่มต้นทำงานนี้มาโดยตลอด และได้กำหนดวันเวลาของการจัดงานตั้งแต่เริ่มทำงานแล้ว"

ประเสริฐ ลงความเห็นว่าถึงที่สุด แม้จะมีผู้จัดงาน 2 งาน แต่ผู้ชมจะตัดสินใจเองว่า ต้องการชมแบบไหน ระหว่างไปชมวงดนตรีที่มีความหลากหลาย คละเคล้ากันหลายๆ แนว กับวงดนตรีที่มีรสชาติแบบเดิมๆ อีกทั้งยังมีการนำนักดนตรีวงหนึ่งมาแตกออกเป็นวงย่อยหลายๆ วง และอย่างน้อยๆ เขาเชื่อว่าการจัดงานแสดงดนตรีแจ๊สในประเทศไทย ก็ควรเปิดโอกาสให้นักดนตรีแจ๊สไทยได้แสดงด้วย
"ผมใช้ชื่องานว่า Jazz Celebration ดังนั้น ในวันแรก เราจะเปิดตัวอย่างภาคภูมิใจ ด้วยการแสดงของนักดนตรีไทย เด่น อยู่ประเสริฐ เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ไทยเราก็มีศิลปินแจ๊สมาตรฐานทัดเทียมสากล ไม่ใช่มีเพียงวงดนตรีนำเข้าเท่านั้น"

การช่วงชิงสถานที่
แม้จะเป็นฝ่ายเตรียมตัวก่อน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน Bangkok Jazz Celebration กลับต้องเสียเปรียบด้านสถานที่ให้แก่ Bangkok Jazz Festival ในท้ายที่สุด เมื่อ วนิดา ออกโรงประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนว่า ขณะนี้ เธอได้รับอนุญาตให้ใช้ ลานสนามเสือป่า ในเขตพระราชฐาน เป็นสถานที่จัดงานอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่ขั้นตอนในการขออนุญาตค้างเติ่งเป็นเวลานานหลายเดือน

สนามเสือป่า คือพื้นที่จัดงานเดิมอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี ซึ่งคอเพลงแจ๊สทั้งหลายต่างคุ้นเคยและชื่นชอบทั้งในด้านบรรยากาศ และความสะดวกในการเดินทาง นั่นพลอยทำให้ทางเลือกในการจัดงานของ Bangkok Jazz Celebration ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 3 แห่งต้องลดเหลือเพียง 2 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ว่างในอาณาบริเวณของโรงงานยาสูบ ใกล้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ พื้นที่ว่างในบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์ ขณะที่พื้นที่ว่างใกล้ทะเลสาบ เมืองทองธานี ต้องตัดออกไปเพราะปัญหาด้านระยะทาง

อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีบางคนวิเคราะห์ว่า พื้นที่ว่างทั้ง 2 ตัวเลือก อาจจะทำให้พลิกจาก 'วิกฤติ' เป็น 'โอกาส' ได้เช่นกัน เพราะทั้ง 2 จุด ผู้ชมสามารถเดินทางได้สะดวก โดยเฉพาะการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนอันทันสมัย โดยเฉพาะ รถไฟฟ้าใต้ดิน

ทางแพร่งชี้วัดรสนิยมคอแจ๊สไทย
ผู้สันทันกรณีรายแรกวิเคราะห์ว่า การเกิดขึ้นของงานเทศกาลแจ๊ส 2 งานภายในเวลาเดียวกัน จะเป็นจุดชี้ชัดว่า คนไทยพร้อมจะเปิดรับกับดนตรีแจ๊สรูปแบบใดมากกว่ากัน แม้ Bangkok Jazz Festival จะมีศิลปินแจ๊สที่มีชื่อเสียงมากกว่า แต่เขาคิดว่าจากรายชื่อของศิลปินที่จะแสดงใน Bangkok Jazz Celebration กลับมีความหลากหลายมากกว่า

ดังจะเห็นได้จากการนำศิลปินอังกฤษรุ่นใหม่ที่กระเดียดไปทางลาตินบีท อย่าง อเล็กซ์ วิลสัน มาแสดง หรือวงของ ไดแอนน์ เชอร์ นักร้องนัยน์ตาพิการ ซึ่งเคยมากับวงบิ๊กแบนด์ของ เคานท์ เบซี แต่ในปีนี้เปลี่ยนมาทัวร์กับวง แคริบเบียน แจ๊ส โปรเจ็คท์ เป็นต้น

ขณะที่ผู้สันทัดกรณีรายที่ 2 เห็นแตกต่างออกไป โดยวิเคราะห์ว่า แม้ โฟร์เพลย์ ของ Bangkok Jazz Festival จะแตก (split) ออกเป็นการบรรเลงของสมาชิกคนอื่นๆ ในวงอีก 3 โชว์ ประกอบด้วย ลาร์รี คาร์ลตัน, บ๊อบ เจมส์ และ ฮาร์วีย์ เมสัน แต่ต้องพิจารณาอย่างเป็นธรรมว่า โฟร์เพลย์ เป็นวงซูเปอร์กรุ๊ป ดังนั้น สมาชิกในวงที่มีความสามารถต่างก็มีโครงการเดี่ยว (solo project) ของตนเองทั้งนั้น

ขณะเดียวกัน Bangkok Jazz Festival ยังมีวงดนตรีจากยุโรปมาอีก 3 วง แถมในด้านลาติน มีมือกีตาร์ โตนินโญ ฮอร์ตา ปรมาจารย์กีตาร์จากบราซิล ซึ่ง แพท เมธินี เชิดชูเป็นครูมาแสดงด้วย

ในความเห็นของผู้สันทัดกรณีรายที่ 2 ระบุว่า ความน่าสนใจของ Bangkok Jazz Celebration อยู่ตรงศิลปินแจ๊สคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่เชื่อว่าน่าจะมีฝีมือ (ตามมาตรฐานศิลปินแจ๊ส) ที่ทำให้หลายๆ คน ซึ่งเบื่อหน่ายความซ้ำซากของ 'ป๊อป-แจ๊ส ฟิวชั่น' หันมาติดตาม เช่น คาร์เมน แบรดฟอร์ด และ ทู ฟอร์ บราซิล "ยกเว้นแต่เพียงว่า คอแจ๊สเหล่านี้เคยฟังและชมการแสดงของศิลปินกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด จากการแสดงที่โรงแรมระดับห้าดาวบางแห่งในกรุงเทพไปแล้ว"

อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีรายที่ 3 วิเคราะห์ได้อย่างน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า 2 รายแรก ตรงที่ระบุว่า เอาเข้าจริงๆ ศิลปินที่เป็น ไลน์-อัพ ของโปรโมเตอร์ทั้ง 2 ราย ยังอิงอยู่กับ 'ป๊อป-แจ๊ส ฟิวชั่น' หรือ 'สมู้ธ แจ๊ส' เป็นสำคัญ ดังนั้น จึงชี้วัดไม่ได้ว่าผู้ชมกลุ่มใดเป็นตัวบ่งชี้รสนิยมแจ๊สประเภทไหน พร้อมเสริมว่า "แต่ช่องทางในการโปรโมทจะมีอิทธิพลสำคัญ ในการเข้าถึงผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งตอนนี้ ได้ข่าวว่าเริ่มมีการใช้อิทธิพลไม่ให้สื่อวิทยุบางแห่งเล่นเพลงของศิลปินอีกฝ่ายแล้ว"

ผู้สันทัดกรณีรายเดิม ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า นับเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีโปรโมเตอร์รายใดสนใจนำเข้าศิลปินแจ๊สที่กำลังอยู่ในความสนใจของแวดวงแจ๊สปัจจุบัน ซึ่งอ้างอิงได้จากการติดอันดับของ Critic's Poll และ Reader's Poll ของนิตยสารดนตรีแจ๊สชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ทุกวันนี้โลกเล็กลงเพราะอินเตอร์เน็ท การรับรู้ข่าวสารของคอแจ๊สไทยกลุ่มหนึ่งไปไกลถึงขั้นนั้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทั้ง วนิดา และประเสริฐ ต่างมีความเห็นตรงกันว่า การจัดเทศกาลแจ๊ส 2 งานให้มาชนกันในวันเวลาเดียวกันนั้น ย่อมส่งผลกระทบให้แต่ละฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือบทเรียนที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเรียนรู้และจดจำไปจนถึงการจัดงานครั้งหน้า.

รายชื่อศิลปิน
Bangkok Jazz Festival
- Veronica Mortensen
- Harvey Mason Trio
- Toninho Horta
- Incognito
- Eldissa
- Masato Honda
- Bob James
- Larry Carlton
- Neils HP
- Earl Klugh
- Asianergy
- Fourplay

Bangkok Jazz Celebration
- Tower of Power
- Dian Schuur fea.Caribbean Jazz
- Jeff Golub
- Two for Brazil
- The Rippington
- Carmen Bradford
- Alex Wilson
- URB
- Sinseke
- TKY
ถ้ามีความคืบหน้าหรือรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม จะรีบเอามาแจ้งให้ทราบกันโดยเร็วครับ แต่ในใจผมตอนนี้ Bangkok Jazz Festival ยังเป็นต่ออยู่ครับ

6 Comments:

At 11/10/05 11:44, Anonymous Anonymous said...

จะดูกันมั้ย จะพยายามล็อบบี้เอาบัตรมาให้นะ ถ้าททท.สนับสนุนจริงๆ

 
At 11/10/05 11:49, Blogger Tum B. said...

แหม..คงไม่ดูมั้งพี่



(ประชดนะ เดี๋ยวไม่รู้อีก)

เอาบัตรมาให้ได้ก่อนเถอะ เอาเยอะๆ นะ

 
At 11/10/05 20:44, Anonymous Anonymous said...

เจ๊ดเข้...น่าดูทั้ง 2งานเลยอ่ะ

แต่เอนเอียงไปทาง Bangkok Jazz Festival เหมือนตั้มเว้ย

เพราะมี Incognito กะ Earl Klugh มาล่อใจ

แต่ Bangkok Jazz Celebration ก็อยากดูเพราะมี The Rippington

ทำไงดีๆๆๆๆๆๆ แจ๊คคร้าบ หาบัตรให้ทั้ง 2งานเลยได้มั้ยคร้าบ

 
At 12/10/05 22:51, Anonymous Anonymous said...

โอ้ว! พี่แจ็ค อยากกินอะไร เดี๋ยวนุ่นจะพาไปกิน ขอบัตรโต๊ยก๊า ฮ่าๆๆๆๆๆ

Incognito อยากดูหลายๆเลยเด้อ

 
At 19/11/18 10:56, Blogger Ruby said...

ฉันไม่รู้ว่ามีเทศกาลดนตรีแจ๊สในกรุงเทพฯแทงบอลโลก http://www.xn--42c2bi7an0cb9p.com/webboard/viewtopic.php?f=5&t=8215&p=28326#p28326

 
At 11/6/19 11:24, Blogger yanmaneee said...

vans shoes
moncler outlet
yeezy
nike air max 270
longchamp outlet
nike off white
michael kors factory outlet
michael kors purses
reebok outlet
christian louboutin outlet

 

Post a Comment

<< Home